25/08/2021
งานปูกระเบื้อง

ถ้าจะให้นึกถึง กาวซีเมนต์ที่ดี จะนึกถึงอะไรได้บ้าง ช่างโดยทั่วๆ ไป อาจจะนึกถึงกาวซีเมนต์ที่เหนียว ติดแน่น เนื้อละเอียด ใช้งานง่าย ซึ่งข้อดีดังกล่าวนี้อาจบอกได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็น สิ่งที่ดีตามความรู้สึก และอาจจะมีไม่กี่คนที่จะรู้ว่า จริงๆ แล้ว กาวซีเมนต์ ที่ดีมีคุณภาพ พิสูจน์ได้จริงทางวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ที่สำคัญ อีกหลายๆ อย่าง ในวันนี้ เราจึงขอถือโอกาส มาให้ข้อมูล ที่เกี่ยวกับมาตรฐานของกาวซีเมนต์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้กาวซีเมนต์อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

มาตรฐานสากล ของกาวซีเมนต์

มาตรฐานสากล ที่เป็นมาตรฐานหลักของกาวซีเมนต์นั้น มีอยู่ 2 มาตรฐาน ได้แก่ 1. มาตรฐานยุโรป 2. มาตรฐานอเมริกา 
ซึ่งทั้งสองมาตรฐานนี้ ก็จะมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีวิธีการทดสอบที่เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในที่นี่เราได้นำรายละเอียดของมาตรฐานมาให้ได้รับทราบกันดังต่อไปนี้

มาตรฐานยุโรป

มาตรฐานยุโรป คือ EN (European Standard) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบของสหภาพยุโรป โดยมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประเทศในทวีปยุโรป และสร้างมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

กาวซีเมนต์มาตรฐานยุโรป คือ EN 12004 ได้กำหนดวิธีการทดสอบเอาไว้อย่างละเอียด รวมถึงข้อกำหนดคุณลักษณะสำหรับกาวซีเมนต์ ได้แก่ Cementitious (C), Dispersion (D) และ Reaction resin (R)  ในที่นี้คงไม่สามารถลงรายละเอียดครบ  จึงขอเน้นการทดสอบของกาวซีเมนต์ที่เป็น cementitious เป็นหลัก ซึ่งในข้อกำหนดได้แบ่งขั้นสินค้าออกเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นมาตรฐาน (C1) และ ขั้นสูง (C2)  โดยมีรายละเอียดในการทดสอบแต่ละหัวข้อดังนี้

Property Test conditions Standard C1 C2
Tensile adhesion strength Initial
Water immersion
Heat ageing
Freeze-thaw cycles
EN 1348
EN 1348
EN 1348
EN 1348
≥ 0.5 MPa
≥ 0.5 MPa
≥ 0.5 MPa
≥ 0.5 MPa
≥ 1.0 MPa
≥ 1.0 MPa
≥ 1.0 MPa
≥ 1.0 MPa
Open time Tensile adhesion strength EN 1346 ≥ 0.5 MPa after 20 minutes
Extended open time (E) Tensile adhesion strength EN 1346 ≥ 0.5 MPa after not less than 30 minutes
Slip resistance (T) Slip EN 1308 ≤ 0.5 mm
Fast setting adhesive  (F) Tensile adhesion strength
Open time
EN 1348
EN 1346
≥ 0.5 MPa after no more than 6 hours
≥ 0.5 MPa after not less than 10 minutes
Transverse deformation (S) Deformability EN 12002 S1 classification : 2.5 ≤ x ≤ 5 mm
S2 classification : x ≥ 5 mm

ผลิตภัณฑ์เดพโก้กาวซีเมนต์ที่ผ่านมาตรฐานยุโรป ได้แก่

Davco Granito Plus, Davco Super TTB, Davco Pool และ Davco Ultraflex

จากข้อมูลที่กล่าวมา หากเราจะสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือ กาวซีเมนต์ EN C2 เป็นกาวซีเมนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีค่าแรงยึดเกาะของกาวซีเมนต์กับกระเบื้องที่สูงมากกว่า C1  ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ เช่น Extended open time, Slip resistance, Fast setting และ Transverse deformation นั้นเป็นคุณลักษณพิเศษเพิ่มเติมที่ผู้ผลิตแต่ละรายจะออกแบบผลิตภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก 
ยกตัวอย่างเช่น กาวซีเมนต์ EN C2 ที่เหมาะกับการใช้งานในสระว่ายน้ำ สปาต่าง ๆ เดพโก้กาวซีเมนต์ก็มีผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการใช้งานสระว่ายน้ำ คือรุ่น  Davco Pool  หรือกาวซีเมนต์ที่เหมาะสำหรับการงานใช้บนอาคารสูงที่มีแรงสั่นสะเทือน หรือพื้นที่ที่มีการสัญจรสูง เข่น ห้างสรรพสินค้า ล็อบบี้โรงแรม สถานที่เหล่านี้ ช่างควรเลือกใช้กาวซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของโพลิเมอร์ในปริมาณมาก เช่น Davco Ultraflex เนื้อกาวซีเมนต์จะมีความยืดหยุ่นตัว มีความสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ดี  

มาตรฐานอเมริกา

มาตรฐานอเมริกา คือ ANSI (American National Standard Institute) คือสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร เป็นองค์กรสำคัญที่ให้การสนับสนุน การพัฒนามาตรฐานทางเทคโนโลยีของสหรัฐ   ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรม, องค์กรพัฒนามาตรฐาน, สมาคมการค้า, ผู้เชี่ยวชาญ, สมาคมด้านเทคนิค , รัฐบาล, แรงงาน และกลุ่มผู้บริโภค ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานต่างๆ ของอเมริกาให้เหมาะสม จากนั้นจะรับรองขึ้นไปเป็นมาตรฐานสากล

สำหรับมาตรฐานกาวซีเมนต์ที่ ANSI ได้แบ่งมาตรฐานออกเป็น 2 ขั้น คือ

1)   ขั้นมาตรฐาน (ANSI 118.1) ได้กำหนดเอาไว้จะต้องผ่านการทดสอบต่างๆ เช่น แรงยึดเกาะของกาวซีเมนต์กับกระเบื้อง (Tensile Adhesion Strength) และค่าการรับแรงเฉือน (Shear Strength) ของกระเบื้อง เช่น Glazed tile และ Porcelain tile ที่สภาพการทดสอบมาตรฐานที่ 7 28 วัน และ 12 สัปดาห์ และหลังการแช่น้ำเป็นเวลา 7 วัน

2)   ขั้นสูง (ANSI 118.4 / ANSI 118.15) ได้เพิ่มข้อกำหนดการวัดค่าการรับแรงเฉือนของหินธรรมชาติ (Quarry Tile) ไว้อีกด้วย 

Property Test conditions ANSI 118.1 ANSI 118.4 ANSI 118.5
Open time
(designation ANSI 118.E)
20 min at 28 days (normal)
30 min at 28 days (extended)
 ≥ 75 psi (0.52 MPa)
Glazed Tile Shear strength 7 days dry
7 days water immersion
28 days heat aging
> 200 psi (1.4 MPa)
> 150 psi (1.0 MPa)
n/a
> 300 psi (2.1 MPa)
> 200 psi (1.4 MPa)
n/a
> 450 psi (3.1 MPa)
> 250 psi (1.7 MPa)
> 450 psi (3.1 MPa)
Porcelain tile shear strength 1 day
7 days
7 days water immersion
28 days
28 days freeze thaw cycling
28 days heat aging
12 weeks
> 50 psi (0.3 MPa)
> 150 psi (1.0 MPa)
> 100 psi (0.7 MPa)
> 150 psi (1.0 MPa)
n/a
n/a
> 150 psi (1.0 MPa)
> 75 psi (0.5 MPa)
> 200 psi (1.4 MPa)
> 150 psi (1.0 MPa)
> 200 psi (1.4 MPa)
> 175 psi (1.2 MPa)
n/a
> 200 psi (1.4 MPa)
> 100 psi (0.7 MPa)
> 300 psi (2.1 MPa)
> 200 psi (1.4 MPa)
> 400 psi (2.8 MPa)
> 250 psi (1.7 MPa)
> 400 psi (2.8 MPa)
n/a
Quarry tile shear strength 28 days
28 days freeze thaw cycling
n/a
n/a
> 150 psi (1.0 MPa)
> 100 psi (0.7 MPa)
> 150 psi (1.0 MPa)
> 100 psi (0.7 MPa)
Sag
(designation ANSI 118.T)
Only for non sagging mortars ≤ 0.02 in (0.5 mm)
Fast setting product
(designation ANSI 118.F)
Final set
Open time 10 min at 28 days 
Procelain mosaic tile shear
strength 4 hours
< 4 hours
≥ 75 psi (0.52 MPa)
> 50 psi (0.3 MPa)

ผลิตภัณฑ์เดพโก้กาวซีเมนต์ที่ผ่านมาตรฐานอเมริกา ได้แก่

Davco TTB Plus, Davco Granito Plus, Davco Super TTB, Davco Pool 

และ Davco Ultraflex

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหากช่างกระเบื้องมีความเข้าใจเรื่องมาตรฐานกาวซีเมนต์ จะทำให้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมกาวซีเมนต์แต่ละรุ่น แต่ละสี มีความแตกต่างกัน ทำให้มีราคาแตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพ  ช่างก็จะสามารถเลือกใช้กาวซีเมนต์ได้อย่างถูกประเภท เหมาะสมเนื้องานและงบประมาณที่ตั้งไว้ ในทางกลับกันหากช่างมองเรื่องการประหยัดต้นทุนอย่างเดียว เลือกใช้กาวซีเมนต์ตัวที่ราคาถูกกว่า ประสิทธิภาพด้อยลงมา ไม่ได้มาตรฐานตรงตามการใช้งานอย่างแท้จริง ก็อาจเกิดปัญหาตามมาภายหลัง อาจจะต้องแก้งาน เสียเวลา ที่สำคัญลูกค้าอาจจะเสียความมั่นใจไปเลยก็ได้ ทางที่ดีเราขอแนะนำเลยว่า เลือกใช้กาวซีเมนต์ให้เหมาะสมตั้งแต่แรกไปเลยจะดีกว่า  อาจจะต้องจ่ายเพิ่มอีกนิดหน่อย แต่แลกกับการจบงานอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัย สบายใจ ไร้กังวลครับ

  • งานปูกระเบื้อง

สิ่งที่ต้องดู ก่อนตัดสินใจเลือกปูนกาว

ก่อนหน้านี้เราเคยพูดเรื่องข้อดีของการใช้กาวซีเมนต์เทียบกับปูนซีเมนต์ผสมทรายไปแล้ว ว่าการใช้กาวซีเมนต์สะดวกใช้งานและมาตรฐานของปูนที่ผสมใช้งานดีกว่า ราคาต้นทุนการใช้ปูนกาวซีเมนต์เทียบกับปูนผสมทราย ที่สำคัญที่สุดกาวซีเมนต์มีคุณสมบัติยึดเกาะได้ดี จึงทำให้ช่างปูกระเบื้องสนใจและหันมาใช้กาวซีเมนต์อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น แต่บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงยังเลือกใช้กาวซีเมนต์ไม่ถูกรุ่นไม่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพงานในระยะยาวได้ ปัจจุบันในท้องตลาดมีกาวซีเมนต์มีมากมายหลายรุ่น แบ่งออกเป็นหลายๆสี ดังนั้นผู้รับเหมาหรือช่างปูกระเบื้องควรเลือกใช้กาวซีเมนต์แต่ละรุ่นให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยหลักดังนี้
  • งานกันซึม
  • งานปูกระเบื้อง

ปูกระเบื้องห้องน้ำอย่างไร ไม่ให้น้ำรั่วซึม

ห้องน้ำเป็นอีกส่วนที่สำคัญของการสร้างบ้าน การทำห้องน้ำจะควบคู่ไปกับงานปูกระเบื้องห้องน้ำ ในที่นี่เราขอแนะนำวิธีการปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยกาวซีเมนต์เท่านั้น เพราะถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องและได้มาตรฐานที่สุด หากทำได้อย่างถูกวิธีก็จะทำให้กระเบื้องติดแน่น ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่แตกหักง่าย และยังเป็นการลดปัญหา การรั่วซึมได้อีกทางหนึ่งด้วย ก่อนเริ่มต้นการปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยกาวซีเมนต์นั้น ช่างจะต้องทำการเทหรือฉาบปรับพื้นผนังให้เรียบได้ระดับก่อน โดยเหลือความหนาไว้สำหรับ ความหนาของกระเบื้อง หรือ หินที่จะนำมาปู และความหนาของกาวซีเมนต์ เพียง 3-5 มิลลิเมตร โดยจะต้องทำการปรับความลาดเอียงของพื้นห้องน้ำให้ลาดเอียงอย่างเหมาะสม หรือที่แนะนำโดยทั่วไปจะประมาณ 1:200 (ระยะความยาวจากจุดสูงสุดไปหาจุดต่ำสุด ทุก 2 เมตรกดระดับลง 1 เซนติเมตร) เพื่อให้น้ำไหลไปลงท่อน้ำทิ้งได้โดยสะดวกไม่เกิดการท่วมขังที่พื้น