การซ่อมรอยแตกร้าวของคอนกรีตด้วยวิธีอัดฉีดมีขั้นตอนการทำงาน คือทำการอัดฉีดผลิตภัณฑ์ประเภทซีเมนต์ โพลียูรีเทน อีพ๊อกซี่ เข้าไปในรอยร้าวเพื่อให้คอนกรีตที่แตกร้าวกลับมาติดกันเช่นเดิม คอนกรีตมีคุณสมบัติทึบน้ำเหมือนเดิม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ซ่อมรอยแตกร้าวของคอนกรีตด้วยวิธีอัดฉีด ดีอย่างไร

  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม และลดการสูญเสียเวลาจากการหยุดทำงาน
  • สามารถปิดรอยแตกร้าวทุกชนิดในโครงสร้างคอนกรีต อิฐก่อ และหินธรรมชาต
  • สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้อย่างถาวร
  • สามารถซ่อมแซมด้วยวิธีอัดฉีดในทุกระยะ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นงานก่อสร้าง หรือเมื่อต้องการซ่อมแซม ปรับปรุง เพื่อยืดอายุการใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของโครงการนั้นๆ

ระบบอัดฉีดโดยซิก้า ดีอย่างไร

  • ซิก้า มีผลิตภัณฑ์ระบบอัดฉีดที่หลากหลาย สำหรับซ่อมรอยแตกร้าวของคอนกรีตทุกประเภท
  • ผลิตภัณฑ์ระบบอัดฉีดโดยซิก้า ได้รับการทดสอบ และผ่านการรับรองตามมาตรฐานชั้นนำระดับโลก
  • ซิก้า มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ที่คอยให้คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่ลูกค้า 
  • ผลิตภัณฑ์ระบบอัดฉีด (บางรุ่น) ของซิก้า ใช้สำหรับซ่อมรอยแตกร้าว และช่วยให้โครงสร้างคอนกรีตกลับมาอยู่ในภาพเดิม และสามารถรับน้ำหนักได้
  • ผลิตภัณฑ์ระบบอัดฉีดโดยซิก้า สามารถใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ซิก้าอื่นๆ ในระบบกันซึม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบกันซึม

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

การอัดฉีดเพื่อซ่อมแซมโครงสร้าง

ความสำเร็จในการกันซึมด้วยระบบอัดฉีดของซิก้า

ปัจจัยแห่งความสำเร็จหลัก 3 ประการ ที่ทำให้เชื่อมั่นในประสิทธิผลและความคงทนของการอัดฉีด นั่นคือ การเลือกใช้วัสดุอัดฉีด อุปกรณ์อัดฉีด และวิธีการอัดฉีดที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้ :

วัสดุสำหรับการอัดฉีด

การเลือกวัสดุอัดฉีดที่เหมาะสม และผลิตภัณฑ์อัดฉีดเฉพาะที่ตรงกับความต้องการของโครงการเป็นปัจจัยหลักประการแรกสำหรับความสำเร็จ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการอัดฉีดอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ความหนืดของวัสดุ ความยืดหยุ่น และพฤติกรรมของวัสดุเมื่อสัมผัสกับน้ำ

อุปกรณ์ในการอัดฉีด

ปัจจัยความสําเร็จที่สําคัญประการที่สอง คือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัสดุอัดฉีดที่เลือกไว้ การเตรียมวัสดุที่ถูกต้อง การผสม และการอัดฉีด ซึ่งรวมทั้งปริมาณการใช้และการผสมขั้นต้น วิธีการอัดฉีดออกจากปั้ม การเลือกใช้แพคเกอร์ หรือพอร์ต หรือตัวเชื่อมที่เหมาะสม

วิธีการอัดฉีดหรือการใช้งาน

ประการที่สาม วิธีการอัดฉีดและเทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง ซึ่งผู้รับเหมาต้องได้รับการฝึกอบรม มีทักษะและประสบการณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเพื่อซ่อมแตกรอยร้าวได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์

Successful Injection with Sika Solutions Graphic

วัสดุอัดฉีดที่หลากหลายของซิก้า

โพลียูรีเทนโฟมเรซิ่น

โพลียูรีเทนโฟมเรซิ่นถูกออกแบบมาให้ขยายตัวด้วยน้ำ เพื่อปิดกั้นการเดินทางของน้ำผ่านรอยแตกหรือช่องว่างแบบชั่วคราว การขยายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อทำปฎิกิริยากับน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดโฟมที่เหนียวและยืดหยุ่น สำหรับการกันซึมอย่างถาวรนั้น จะทำโดยการอัดฉีดโพลียูรีเทนโฟมเรซิ่นเข้าไปอีกครั้งด้วยเรซิ่นที่เหมาะสมซึ่งไม่ใช่โฟม แต่เป็นวัสดุประเภทโพลียูรีเทนเช่นกัน

Polyurethane foam resin for injection sealing

โพลียูรีเทนเรซิ่น

โพลียูรีเทนเรซิ่นเป็นสารประเภทไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic) หรือสารไม่ละลายน้ำ มีความยืดหยุ่นและใช้สำหรับอัดฉีดเพื่อปิดรอยแตกร้าวแบบไม่มีโครงสร้าง และกันซึมบริเวณช่องว่าง รอยแตก และรอยต่อ โพลียูรีเทนเรซิ่นมีความหนืดต่ำทำให้สามารถซึมผ่านเข้าไปในโครงสร้างคอนกรีต เพื่อปิดรอยรั่วซึมได้ดีและมีความยืดหยุ่นที่คงทน โพลียูรีเทนเรซิ่นยึดเกาะกับขอบคอนกรีตได้ดี และมีลักษณะไม่ชอบน้ำ ซึ่งภายในช่องว่าง รอยแตก และรอยต่อที่มีน้ำเข้ามากต้องทำการอัดฉีดเพื่อหยุดน้ำชั่วคราวก่อนด้วยโพลียูรีเทนโฟมเรซิ่น

Polyurethane resin for injection sealing
อะคริเลตเรซิ่น

อะคริเลตเรซิ่นเป็นสารประเภทไฮโดรฟิลลิก (Hydrophilic) หรือสารที่ละลายน้ำได้มีความยืดหยุ่นสูงและใช้สำหรับอัดฉีดซ่อมรอยแตก รอยต่อ และช่องว่างแบบไม่มีโครงสร้าง รวมทั้งการอัดฉีดผ่านท่อ (Injection hose) การอัดฉีดแบบแยกเป็นส่วน (Compartment systems) และการอัดฉีดตามพื้นที่ (Area injections) ปฎิกิริยาและเวลาแข็งตัวของวัสดุสามารถปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งช่วยให้วัสดุอัดฉีดมีความยืดหยุ่นตามเงื่อนไขของหน้างาน (เช่น อุณหภูมิและระยะทาง) วัสดุประเภทอะคริเลตเรซิ่นสามารถปิดรอยแตกและกันน้ำรั่วซึมโดยบวมตัวเมื่อมีการสัมผัสกับน้ำ ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการอัดฉีดสามารถทําความสะอาดได้ง่ายด้วยน้ำเช่นกัน

Acrylate resin for injection sealing
อีพ๊อกซี่เรซิ่น

อีพ๊อกซี่เรซิ่นมีคุณสมบัติต้านทานแรงดึงสูง ซึ่งสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับค่าแรงอัดในคอนกรีต โดยทั่วไปถือว่าเป็นวัสดุที่มีความแข็งและใช้กันอย่างแพร่หลายในการซ่อมแซมโครงสร้างโดยการอัดฉีดรอยแตก และช่องว่างในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก อีพ๊อกซี่เรซิ่นมีความหนืดต่ำช่วยให้สามารถซึมผ่านเข้าไปในรอยแตกได้อย่างดีเยี่ยม และยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีการถ่ายเทน้ำหนักอย่างถาวรและคงทน วัสดุประเภทอีพ๊อกซี่เรซิ่นเหมาะสำหรับการอัดฉีดโครงสร้างที่แตกต่างกันตามความต้องการ และการใช้งานในสภาพแห้งถึงชื้นเล็กน้อย

Epoxy resin for injection sealing
ไมโครไฟน์ซีเมนต์

ไมโครไฟน์ซีเมนต์เป็นวัสดุอัดฉีดประเภทโพลีเมอร์ดัดแปลงชนิดไม่ยืดหยุ่นจึงไม่รองรับการเคลื่อนไหว มีความแข็ง เป็นวัสดุอัดฉีดประเภทโพลีเมอร์ดัดแปลง หรือที่เรียกว่าไมโครไฟน์ซีเมนต์เกร้าท์ ซึ่งเป็นซีเมนต์ผสม ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายสำหรับอัดฉีดโครงสร้างเพื่อซ่อมรอยแตกร้าว ช่องว่าง และรอยต่อที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เนื่องจากเป็นสารโพลีเมอร์ดัดแปลงที่ทำมาจากวัสดุประเภทปูนซีเมนต์จึงทำให้มีคุณสมบัติการไหลตัวสูง และความสามารถในการซึมผ่านที่ดีมาก

Microfine cement suspension for injection