09/10/2023
การปูกระเบื้อง คือ กระบวนการติดตั้งกระเบื้องลงบนพื้นหรือผนังของบ้าน อาคาร หรือพื้นที่อื่น ๆ เพื่อให้ได้พื้นผิวที่สวยงาม ทนทาน และใช้งานได้ตามประเภทของพื้นที่และการใช้งาน เช่น กระเบื้องในห้องน้ำ ห้องครัว ลานจอดรถ หรือบริเวณภายนอกอาคาร เป็นต้น
การปูกระเบื้องให้มีประสิทธิภาพ ต้องผ่านกระบวนการเตรียมพื้น การเลือกใช้กระเบื้อง ปูนกาว และยาแนวกระเบื้องที่ได้คุณภาพ และถูกต้องกับการใช้งาน รวมทั้งเทคนิคในการติดตั้ง เพื่อให้กระเบื้องติดแน่นและมีความสวยงาม เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่นั้น ๆ อีกทั้งยังดูแลให้กระเบื้องใช้งานได้ยาวนานในอนาคต
กดอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจ
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนปูกระเบื้อง
ควรปูกระเบื้องด้วยปูนกาวแทนวิธีการปูกระเบื้องแบบซาลาเปาที่ใช้ปูนทราย ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ง่าย แต่ทำให้ด้านหลังแผ่นกระเบื้องมีช่องว่าง ความชื้นสามารถเข้าไปสะสมจนเกิดปัญหากระเบื้องหลุดล่อนได้ในภายหลัง
การเลือกปูนกาวและยาแนวกระเบื้องให้เหมาะสมต้องคำนึงถึงขนาด และชนิดของกระเบื้อง รวมถึงลักษณะของพื้นที่ที่จะทำการปูด้วย เพื่อให้กระเบื้องที่ปูติดแน่นและทนทาน
การปูกระเบื้องด้วยปูนกาว
การปูกระเบื้องโดยใช้ปูนกาว หรือกาวซีเมนต์ จะช่วยให้ผนังหรือพื้นกระเบื้องนั้นมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่หลุดล่อน โก่ง หรือแตกร้าว การปูกระเบื้องด้วยปูนกาว มีขั้นตอนและเทคนิคง่ายๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว และอุปกรณ์
พื้นผิวต้องสะอาด แข็งแรง ไม่หลุดล่อน ปราศจากฝุ่นหรือคราบใดๆ เช่น คราบปูน น้ำมัน และสิ่งสกปรก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นผิวแห้ง ได้ระดับและเรียบ พื้นผิวที่เสียหายควรซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน หากมีการทำกันซึมไว้ ควรเว้นระยะห่าง 3-7 วัน ก่อนทำการปูกระเบื้อง
เทคนิค: ควรซ่อมแซมพื้นผิวที่เสียหายก่อน อย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยกรีดสกัดให้ถึงรอยร้าว (ลักษณะเป็น ตัว V shape) และฉาบซ่อมด้วยผลิตภัณฑ์ Sika Repair Mortar หรือ Lanko 732 FACADE REPAIR ถ้าเป็นพื้นผิวที่เทปูนใหม่ ควรทิ้งไว้ให้แห้งสนิท อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ก่อนทำการปูกระเบื้อง
ทำการผสมปูนกาวกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดบนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้สว่านปั่นผสมความเร็วรอบต่ำ จนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะเวลาการปั่น 3-5 นาที หลังจากนั้นพักส่วนผสมทิ้งไว้ประมาณ 1-3 นาที ก่อนนำมาใช้งาน
เทคนิค: แนะนำให้ใช้เครื่องมือผสม เช่น สว่านและใบปั่น เพื่อช่วยให้ปูนกาวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประหยัดเวลาในการผสมให้เร็วขึ้น อย่าลืมหาแผ่นกระดาษ หรือพลาสติกมาปูพื้นที่ก่อนทำการผสมปูนกาว
ขั้นตอนที่ 3 ปาดปูนกาวด้วยเกรียงหวี
นำปูนกาวที่ผสมและพักทิ้งไว้แล้ว ตักลงบนพื้นผิวที่จะปูกระเบื้องและปาดด้วยเกรียงหวีเป็นแนวยาวในทิศทางเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นนำปูนกาวไปปาดลงบนหลังกระเบื้องบางๆ ให้ทั่ว เพื่อให้มั่นใจว่าปูนกาวติดทั่วทั้งแผ่น และไม่เกิดโพรงอากาศที่เป็นสาเหตุหนึ่งของกระเบื้องหลุดล่อนแตกร้าว
เทคนิค:
- ไม่ควรโปะปูนกาวกลางกระเบื้อง (การปูแบบซาลาเปา) เพราะจะทำให้มีโพรงช่องว่าง กระเบื้องยึดเกาะกับพื้นผิวไม่เต็มแผ่น ส่งผลให้กระเบื้องแตกร้าวและหลุดล่อนได้ง่าย
- ไม่ควรเติมน้ำเพิ่มในปูนกาวที่ผสมแล้ว เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของปูนกาวลดลง
- ห้ามนำกระเบื้องไปชุบน้ำหรือล้าง เพราะจะทำให้ปูนกาวยึดติดกับกระเบื้องได้ไม่ดี
- พื้นผิวก่อนปูกระเบื้องแนะนำให้พรมน้ำ เพื่อป้องกันพื้นเดิมดูดน้ำจากปูนกาวมากเกินไป
ขั้นตอนที่ 4 ปรับระดับ จัดระยะร่อง
วางแผ่นกระเบื้องลงบนพื้นที่ที่ต้องการ แล้วใช้ค้อนยางเคาะเบาๆ บนกระเบื้องให้ทั่วทั้งแผ่น เพื่อให้กระเบื้องได้ระดับเสมอกัน และจัดแนวกระเบื้องโดยวางเว้นระยะร่องยาแนวให้เสมอกัน ทำแบบนี้ไปจนเสร็จทั่วพื้นที่และทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง ก่อนทำการยาแนว
เทคนิค: ควรใช้เครื่องมือ เช่น ลิ่มปรับระดับ เพื่อช่วยกำหนดระดับกระเบื้องให้เรียบเสมอกัน หรือใช้ Spacer ช่วย กำหนดระยะร่องยาแนวกระเบื้อง โดยเว้นอย่างน้อย 1-2 มม. และควรปรับแนวกระเบื้องภายใน 15-20 นาที ก่อนปูนกาวแห้งตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย
ก่อนยาแนวกระเบื้องให้ทำความสะอาดร่องยาแนว โดยขจัดเศษผง เศษฝุ่นซีเมนต์ต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นผสมกาวยาแนวกับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนด กวนจนส่วนผสมเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้เกรียงยางปาดกาวยาแนวให้เต็มร่องในแนวเฉียงกับร่องกระเบื้อง หลังจากนั้นปาดยาแนวส่วนเกินออก และใช้ฟองน้ำหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่ยาแนว และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนเปิดพื้นที่ใช้งาน
เทคนิค: พื้นที่เปียกชื้นควรใช้ยาแนวชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราได้ การเลือกเฉดสีของกาวยาแนวมี 2 แบบ คือ เลือกเฉดสีใกล้เคียงกับสีกระเบื้องมากที่สุด เพื่อให้เส้นยาแนวกลมกลืนกับสีของกระเบื้อง หรืออีกแบบ คือ เลือกเฉดสีตรงข้าม เช่น กระเบื้องสีขาวใช้ยาแนวสีดำ เพื่อเน้นเส้นยาแนวให้ดูชัดขึ้น ซึ่งช่วยทำให้กระเบื้องดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น