13/07/2021
งานกันซึม งานปูกระเบื้อง

ห้องน้ำเป็นอีกส่วนที่สำคัญของการสร้างบ้าน การทำห้องน้ำจะควบคู่ไปกับงานปูกระเบื้องห้องน้ำ ในที่นี่เราขอแนะนำวิธีการปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยกาวซีเมนต์เท่านั้น เพราะถือเป็นวิธีการที่ถูกต้องและได้มาตรฐานที่สุด หากทำได้อย่างถูกวิธีก็จะทำให้กระเบื้องติดแน่น ทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่แตกหักง่าย และยังเป็นการลดปัญหา การรั่วซึมได้อีกทางหนึ่งด้วย ก่อนเริ่มต้นการปูกระเบื้องห้องน้ำด้วยกาวซีเมนต์นั้น ช่างจะต้องทำการเทหรือฉาบปรับพื้นผนังให้เรียบได้ระดับก่อน โดยเหลือความหนาไว้สำหรับ ความหนาของกระเบื้อง หรือ หินที่จะนำมาปู และความหนาของกาวซีเมนต์ เพียง 3-5 มิลลิเมตร โดยจะต้องทำการปรับความลาดเอียงของพื้นห้องน้ำให้ลาดเอียงอย่างเหมาะสม หรือที่แนะนำโดยทั่วไปจะประมาณ 1:200 (ระยะความยาวจากจุดสูงสุดไปหาจุดต่ำสุด ทุก 2 เมตรกดระดับลง 1 เซนติเมตร) เพื่อให้น้ำไหลไปลงท่อน้ำทิ้งได้โดยสะดวกไม่เกิดการท่วมขังที่พื้น

สำหรับขั้นตอนการปูกระเบื้องห้องน้ำ เราขอเสนอการทำงานเป็นโซลูชั่นที่เรียกว่า Bathroom Solution มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 

1. การทำระบบกันซึมห้องน้ำ พร้อมวัสดุปิดรอยต่อ เข้ามุม

ผลิตภัณฑ์กันซึมมีทั้งแบบส่วนผสมเดียว และแบบสองส่วนผสม ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน จะมีวิธีการทำงานที่เหมือนกัน คือ ช่างควรทากันซึม อย่างน้อย 2 ชั้น เพื่อให้ได้ความหนารวมประมาณ 2.0 มม.

กันซึม ห้องน้ำ

สำหรับบริเวณรอยต่อหรือเข้ามุม (ของพื้นชนผนัง) แนะนำให้ทาวัสดุกันซึมบริเวณรอยต่อก่อน โดยทาบริเวณรอยต่อขึ้นผนังอย่างน้อย 10 เซนติเมตร และทาจากรอยต่อออกมาบนพื้นประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นใช้วัสดุปิดรอยต่อที่มีความยืดหยุ่น กันน้ำ ปิดรอยต่อ แล้วทาวัสดุกันซึมทับอีกครั้ง

ข้อควรรู้

เทคนิคการทำระบบกันซึมที่ดี มีดังนี้ ให้ทาเป็นรูปเครื่องหมายบวก เช่น ทารอบแรกในแนวตั้ง ทิ้งไว้ให้แห้ง 2-6 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) จากนั้นทารอบสองในแนวนอน ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 3-7 วัน  แล้วค่อยทำงานปูกระเบื้อง

กันซึม แบบส่วนผสมเดียว 
Lanko 227 FLEX SHIELD

กันซึม แบบสองส่วนผสม
SikaTop®-107 Seal TH
Lanko 226 FLEX

วัสดุปิดรอยต่อ เข้ามุม
Sika® SealTape-S

2. การปูกระเบื้องห้องน้ำ

สิ่งที่ช่างต้องคำนึงถึง คือ การเลือกใช้กาวซีเมนต์ให้เหมาะสมกับประเภทของกระเบื้อง ขนาดของกระเบื้อง และบริเวณที่ใช้ปูกระเบื้อง เมื่อช่างพิจาณาและเลือกใช้กาวซีเมนต์ได้อย่างเหมาะสมกับการปูกระเบื้องห้องน้ำแล้ว  เราจะเข้าสู่ขั้นตอนการปูกระเบื้องห้องน้ำ ดังนี้

การเตรียมพื้นผิว
ควรทำความสะอาดพื้นผิวโดยใช้แปรงสลัดน้ำ พรมน้ำบนพื้นผิวเพื่อลดการดูดซึมน้ำก่อนใช้กาวซีเมนต์ปูกระเบื้องห้องน้ำ รวมถึงการเช็ดทำความสะอาดกระเบื้อง ให้สะอาด ปราศจากฝุ่นผง (การปูกระเบื้องด้วยกาวซีเมนต์ ไม่จำเป็นต้องนำกระเบื้องไปแช่น้ำก่อน)

ผสมกาวซีเมนต์
โดยการใส่น้ำในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ข้างถุง  ซึ่งกาวซีเมนต์แต่ละรุ่นอาจจะมีอัตราส่วนน้ำไม่เท่ากัน  เทน้ำลงในถังผสมก่อน แล้วค่อย ๆ เทกาวซีเมนต์ลงไปในน้ำ ทั้งนี้เพื่อลดความฟุ้งกระจายลง และเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันได้ง่ายขึ้น  โดยใช้สว่านปั่นประมาณ 3 นาที  รอให้เคมีบ่มตัวเล็กน้อย จากนั้นก็นำไปใช้งานได้เลย  
ข้อควรระวัง 
ไม่ควรเติมน้ำเพิ่มอีก หลังจากการนำกาวซีเมนต์ไปใช้งานแล้ว  และควรใช้กาวซีเมนต์ในถังให้หมดภายใน 2 ชม. ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของกาวซีเมนต์แต่ละประเภท ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ข้างถุงก่อนการใช้งาน

การปูกระเบื้อง
ขั้นตอนการปูกระเบื้องห้องน้ำ ให้ใช้ด้านเรียบของเกรียงหวีปาดกาวซีเมนต์ลงบนพื้นผิวที่จะปูพื้นที่ประมาณ 1 ตารางเมตร จากนั้นใช้ด้านที่เป็นร่องหวีปาดกาวซีเมนต์ให้ทั่วอีกครั้ง โดยลากเกรียงหวีทำมุมกับพื้นประมาณ 60 องศา แล้วปูกระเบื้องบนกาวซีเมนต์ หากกระเบื้องมีขนาดที่ใหญ่กว่า 30x30 เซนติเมตร ก็ควรทำการปาดกาวซีเมนต์บางๆ ไว้ที่ด้านหลังกระเบื้องด้วยเสมอ กดให้แน่นโดยให้แถบเส้นกาวซีเมนต์ล้มทับกัน จะได้ไม่เกิดโพรงใต้กระเบื้อง ใช้ค้อนยางเคาะบนกระเบื้องให้ทั่ว 
กาวซีเมนต์เดพโก้ มีให้เลือกใช้หลากหลายชนิดแบ่งตามลักษณะงานต่างๆ ข้อดีของกาวซีเมนต์เดพโก้ คือ มีระยะเวลาเปิดหน้าปูนนาน ช่างสามารถทำงานได้พื้นที่กว้าง ปูกระเบื้องได้เร็ว และยังมีเวลาเพียงพอสำหรับการแก้ไข จัดแต่งแนวกระเบื้องได้นานขึ้น ทำให้งานเสร็จเร็ว ได้คุณภาพมากขึ้นอีกด้วย

ข้อแนะนำ

ช่างควรปูผนังให้เสร็จก่อนแล้วค่อยปูพื้น  เนื่องจากสะดวกกว่าและลดการเสียหายจากการทำงาน หากช่างทำงานพื้นก่อน แล้วต้องยืนทำงานเหยียบบนพื้นกระเบื้องมีโอกาสที่เครื่องมือจะหล่นกระแทกใส่พื้นให้เสียหายได้

ข้อควรรู้

เกรียงหวีจะสามารถควบคุมความหนาของกาวซีเมนต์ให้เหมาะกับขนาดและประเภทกระเบื้องได้ 
  • กระเบื้องขนาดเล็ก ไม่เกิน 5x5 ซม. ควรใช้เกรียงหวี U3 (ขนาด 3 มม.)
  • กระเบื้องขนาดกลาง ไม่เกิน 30x30 ซม. ควรใช้เกรียงหวี U6 (ขนาด 6 มม.)
  • กระเบื้องขนาดใหญ่ เกิน 30x30 ซม. ควรใช้เกรียงหวี U9 (ขนาด 9 มม.)

3. การยาแนวกระเบื้องห้องน้ำ

ควรทิ้งให้กาวซีเมนต์แห้งเซ็ตตัวแห้งสนิทประมาณ 24 ชั่วโมง ก่อนทำการยาแนวเป็นขั้นตอนสุดท้าย
แนะนำให้เลือกยาแนวชนิดป้องกันเชื้อราที่ผสมสารปกป้องเชื้อรา ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อราและยับยั้งแบคทีเรียไม่ให้ก่อตัวบนร่องกระเบื้องที่ยาแนวไว้ ทำงานร่วมกับสารไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic) สามารถลดคราบสกปรกที่ฝั่งแน่น  ป้องกันน้ำ ความชื้นหรือสิ่งสกปรกไหลซึมผ่านลงไปในร่องยาแนวที่อาจก่อให้เกิดเชื้อราตามซอกขอบที่อับชื้น ซึ่งเหมาะกับบริเวณพื้นกระเบื้องห้องน้ำ

ขั้นตอนการยาแนว
ผสมกาวยาแนวกับน้ำสะอาดตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ข้างถุง ใช้เกรียงปาดยาแนวลงในร่องกระเบื้องให้เต็มร่อง เช็ดคราบที่เกินออกมาเป็นระยะ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนคราบแห้ง จะทำให้คราบติดอยู่บนผิวกระเบื้อง ทำความสะอาดได้ยาก  ควรทิ้งให้กาวยาแนวแห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง (สำหรับพื้นที่ส่วนแห้ง) และ 48 ชั่วโมง (สำหรับพื้นที่ส่วนเปียก) จึงเปิดการใช้งานพื้นที่ได้

เมื่อช่างได้ทำระบบกันซึมห้องน้ำและปูกระเบื้องห้องน้ำตามขั้นตอนของ Bathroom Solution ที่แนะนำข้างต้นนี้แล้ว  ก็มั่นใจได้เลยว่า งานปูกระเบื้องในห้องน้ำนี้ ได้มาตรฐาน ส่งมอบงานได้อย่างสบายใจ ไร้กังวล แน่นอนครับ

ผลิตภัณฑ์ Bathroom Solution ของซิก้า

ระบบกันซึมห้องน้ำ

2. งานปูกระเบื้องห้องน้ำ

กระเบื้องเซรามิก
DAVCO TTB PLUS

กระเบื้องแกรนิตโต้
Davco GRANITO PLUS
Davco SUPER TTB

3. งานยาแนวกระเบื้อง

กระเบื้องเซรามิก
DAVCO EXTRA PLUS

กระเบื้องแกรนิตโต้
Davco GRANITO

วิดีโอระบบกันซึมห้องน้ำด้วยผลิตภัณฑ์ซิก้า