02/08/2021
ฟาซาดถือเป็นภาพลักษณ์ของอาคาร ซึ่งในสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ฟาซาดเป็นสิ่งที่ดึงดูดสายตาความสนใจจากผู้พบเห็นเนื่องจากมีขนาดใหญ่ มีรูปทรงแปลกใหม่ และผลิตขึ้นจากวัสดุที่มีความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อชิ้นส่วนฟาซาดที่มีรูปทรงหลากหลายส่งผลให้มีความจำเป็นต้องออกแบบรอยต่ออย่างเหมาะสม ความซับซ้อนของชิ้นส่วนฟาซาดอาจก่อให้เกิดการออกแบบที่ผิดพลาด ดังนั้น วิศวกรผู้ออกแบบต้องอ้างอิงข้อกำหนดการออกแบบรอยต่อของชิ้นส่วนฟาซาดตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในสากลเพื่อให้ฟาซาดมีความมั่นคงแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ยาวนาน
หลักเกณฑ์ 4 ข้อ ที่ต้องพิจารณาเพื่อให้ได้รอยต่อฟาซาดที่มั่นคงแข็งแรงและใช้งานได้ยาวนาน
ความกว้างรอยต่อ
ความกว้างรอยต่อคำนวณจากขนาดและสัมประสิทธิ์การขยายตัวของชิ้นส่วนฟาซาด รวมถึงอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุดที่กระทำต่อฟาซาด
ความกว้างรอยต่อสูงสุดและความกว้างรอยต่อต่ำสุด คือตัวแปรที่ใช้แสดงความสามารถต้านการเคลื่อนที่ของรอยต่อ เพื่อให้รอยต่อสามารถทนต่อน้ำหนักบรรทุกเนื่องจากอุณหภูมิได้ทั้งในกรณีอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในกรณีทั่วไปและกรณีแรงแบบวัฏจักร วัสดุประสานที่ใช้จัดเตรียมรอยต่อฟาซาดได้รับการจัดประเภทตามมาตรฐานสากลโดยพิจารณาจากระดับการเคลื่อนที่เพื่อให้ผู้ออกแบบเลือกใช้วัสดุประสานได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับหน้างาน รายละเอียดวัสดุประสานที่ได้รับความนิยมแสดงไว้ในหน้าถัดไป
วัสดุที่จะเชื่อมต่อ
การเลือกใช้วัสดุประสานขึ้นกับวัสดุของชิ้นส่วนฟาซาด ในปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายที่นำมาใช้ทำชิ้นส่วนฟาซาด เช่น คอนกรีต แก้ว เหล็ก อิฐ และหิน ชิ้นส่วนฟาซาดทั้งหมดต้องยึดโยงกันอย่างมั่นคง นอกจากนี้ ชิ้นส่วนของระบบกันน้ำซึมฟาซาด โครงสร้างแก้วหรือเหล็กที่ใช้รองรับฟาซาดต้องยึดติดกับชิ้นส่วนฟาซาดอย่างมั่นคงเช่นเดียวกัน
วัสดุยาแนวที่ใช้ต้องมีการยึดเหนี่ยว กำลังต้านทาน และความคงทนที่เพียงพอต่อการยึดโยงชิ้นส่วนฟาซาด รวมถึงวัสดุยาแนวต้องมีความเข้ากันได้กับวัสดุที่ใช้ทำชิ้นส่วนฟาซาดโดยไม่เกิดการเปลี่ยนสี การเปลี่ยนคุณภาพวัสดุ และการสูญเสียการยึดเหนี่ยวตลอดการใช้งาน
การสัมผัสกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลต่ออายุการใช้งานและประสิทธิภาพของสารยาแนว ในการเลือกใช้วัสดุประสานให้เหมาะสมกับฟาซาด ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงระดับการแผ่รังสีอุลตราไวโอเลตและผลกระทบเนื่องจากสารเคมีอื่นที่อยู่ในสภาพแวดล้อม
ในกรณีที่มีการใช้สารยาแนวทั้งภายในและภายนอกอาคาร ผู้ออกแบบต้องพิจารณาความสามารถซึมผ่านของสารยาแนวในสถานะที่เกิดการระเหยเป็นไอร่วมด้วย เพื่อป้องกันการสะสมของสารระเหยในผนังอาคาร
ข้อพิจารณาทั่วไปที่ต้องคำนึงถึงคือ การเลือกใช้สารยาแนวที่มีความสามารถซึมผ่านของไอระเหยน้อยร่วมกับผนังอาคารในด้านที่รับอุณหภูมิสูงกว่าอีกด้านเนื่องจากกระแสอากาศอุ่นมีความชื้นมากกว่ากระแสอากาศที่เย็นกว่า
ลักษณะของฟาซาด
รอยต่อที่ไม่เรียบร้อยส่งผลต่อภาพลักษณ์ของฟาซาด ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงรูปลักษณ์ของรอยต่อก่อนการพิจารณาเลือกใช้สารยาแนว นอกจากเหนือจากการพิจารณาความเข้ากันได้ของสีที่เลือกใช้กับชิ้นส่วนฟาซาดและสารยาแนว ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงกรณีที่ฟาซาดหินเกิดคราบสกปรกและฟาซาดแก้วเกิดคราบร่วมด้วย
การเกิดคราบสกปรกแบบถาวรย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของฟาซาด ทำให้เจ้าของอาคารอาจต้องดำเนินการเปลี่ยนชิ้นส่วนฟาซาด เพราะฉะนั้น ผู้ออกแบบควรเลือกใช้สารยาแนวและผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ร่วมกับชิ้นส่วนฟาซาดชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดคราบสกปรกถาวรเพื่อประหยัดงบซ่อมบำรุงอาคารในระยะยาว
ปัจจัยที่ทำให้วัสดุยาแนวของซิก้ามีอายุการใช้งานยาวนาน
การเลือกใช้วัสดุยาแนวรอยต่อที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่การเกิดปัญหารั่วซึมในระบบฟาซาดและส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอาคาร การใช้วัสดุยาแนวของซิก้า ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร
- ซิก้าเลือกใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยและมีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการในการแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมของอาคารทุกส่วนตั้งแต่ระดับฐานรากจนถึงหลังคา ปัญหาน้ำรั่วซึมสามารถป้องกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในกรณีที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ซิก้าแนะนำ
- วัสดุยาแนวกรอบอาคารและกาวติดโครงสร้างกระจกเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจหลักของซิก้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาอย่างยาวนาน
- วัสดุยาแนวของซิก้ามีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม ในฐานะที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงเป็นที่ทราบกันว่าผลิตภัณฑ์ของซิก้าสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ดาวน์โหลดโบรชัวร์
ตัวอย่างการทำงาน
ผู้เขียน
Christian Völlm
Corporate Market Development Manager
Target Market Sealing & Bonding
Sika Services AG