LANKO 706 CALSEA
ปูนนอนชริ้งค์เกราท์ ชนิดทนซัลเฟต และรับกำลังอัดสูง
ปูนนอนชริ้งค์เกราท์ ผสมสำเร็จ
- รับกำลังอัดสูงถึง 650 KSC
- ทนทานต่อน้ำทะเล และน้ำที่มีส่วนผสมของซัลเฟต ปริมาณสูงได้อย่างดีเยี่ยม
- ไหลตัวได้ดี
- เซ็ตตัวเร็ว
- ไม่หดตัว
ปูนนอนชริ้งค์เกราท์ ชนิดทนซัลเฟต และรับกำลังอัดสูง
ปูนนอนชริ้งค์เกราท์ ผสมสำเร็จ
25 กิโลกรัม / ถุง
12 เดือน นับจากวันที่ผลิต หากจัดเก็บอย่างถูกต้อง ภายในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทและไม่เสียหาย
จัดเก็บในบริเวณที่แห้ง และไม่โดนแสงแดดโดยตรง
2.5 มิลลิเมตร
1.2 – 1.3 กิโลกรัม / ลิตร
ผสมแบบข้น (MPa) | ผสมแบบเหลว (MPa) | |
1 วัน | > 30 | > 10 |
3 วัน | > 50 | > 30 |
7 วัน | > 60 | > 40 |
28 วัน | > 65 | > 55 |
ผสมแบบข้น (MPa) | ผสมแบบเหลว (MPa) | |
3 วัน | > 6 | > 8 |
7 วัน | > 7 | > 9 |
28 วัน | > 8 | > 10 |
< 0.4% | (ASTM C1090) |
การผสม | LANKO 706 CALSEA | หินเกล็ด 3/8" | น้ำ (ลิตร) |
ผสมแบบข้น | 1 ถุง 25 กิโลกรัม | - | 3 - 3.25 |
ผสมแบบเหลว | 1 ถุง 25 กิโลกรัม | - | 3.5 - 4.4 |
ผสมกับหินเกล็ด | 1 ถุง 25 กิโลกรัม | 10 ลิตร | 3.5 - 4.4 |
30 นาที
200 นาที
70 นาที
ประมาณ 2 กิโลกรัม ของซีเมนต์ ต่อปูน 1 ลิตร
1 ลูกบาศก์เมตร ใช้ 77 ถุง x 25 กิโลกรัม และน้ำ 300 ลิตร
ไมโครคอนกรีต
ไมโครคอนกรีต ทำได้โดยการผสมหินเกล็ด 3/8" ล้างสะอาด 10 ลิตร กับ LANKO 706 CALSEA 25 กก. 1 ถุง
ผสมต่อเนื่องอย่างน้อย 3 นาที หรือจนส่วนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แนะนำให้ใช้เครื่องปั่นผสมเมื่อทำการผสมหินเกล็ด
งานฝังเหล็กหรือสลักเกลียว
รูเจาะจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าวัสดุที่ฝังอย่างน้อย 20 – 30 มม.
รูเจาะต้องลึกอย่างน้อย 10 - 20 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และความแข็งแกร่ง ของคอนกรีต
ถ้ารูเจาะมีขนาดใหญ่มากกว่า 50 มม. สามารถใช้การผสมแบบผสม กับหินเกล็ดได้โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของการทำงานด้วยว่า สามารถเท ได้หรือไม่ เนื่องจากการผสมหินเกล็ด วัสดุจะสูญเสียคุณสมบัติ ในการไหลตัว อาจต้องใช้การกระทุ้ง เพื่อสามารถเติมเต็มช่องว่างได้
พื้นผิวคอนกรีตต้องบ่มจนอิ่มน้ำ และวัสดุต้องไม่มีคราบน้ำมัน หรือจารบี
พื้นผิวต้องไม่มีน้ำขังขณะทำงาน
จัดวัสดุที่ต้องการฝังให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ โดยยึดให้มั่นคง ไม่ให้ขยับขณะทำงาน
เทวัสดุที่ผสมแล้วลงในรูจนเต็ม
การเทฐาน
เข้าแบบโดยรอบฐาน แบบต้องแข็งแรงและทำการปิดรอยต่อ เพื่อป้องกันการรั่วไหล
ฐานที่มีขนาดใหญ่อาจต้องทำกล่องเข้าแบบสำหรับเท เพื่อให้ มีน้ำหนักวัสดุมากพอที่จะดันวัสดุให้ไหล ตลอดความยาว ของฐาน โดยกล่องอาจมีความสูงประมาณ 50 มม. จากฐานและมุมเฉียง 45 องศา เพื่อช่วยในการไหลของวัสดุ และป้องกันการเกิดโพรงอากาศ ในแบบ
ระยะห่างของแบบจากขอบฐานประมาณ 50 มม. โดยรอบ และสูงกว่าฐานอย่างน้อย 25 มม.
ควรใช้วัสดุที่ไม่มีการดูดซึมในการเข้าแบบ หากจำเป็นให้ใช้ น้ำมันเพื่อป้องกันปัญหาปูนติดแบบเมื่อทำการถอดแบบ
บ่มผิวคอนกรีตรวมทั้งแบบให้อิ่มน้ำ และทำการซับน้ำออก โดยไม่ให้มีน้ำนองก่อนการทำงาน
หลังจากขั้นตอนการผสม ให้เทวัสดุก่อนที่จะเริ่มแข็งตัว โดยการทำงานในขณะที่อุณหภูมิสูงจะเร่งการแข็งตัวของวัสดุ
การเทให้เทจากด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิด โพรงอากาศ
ถ้าจำเป็นอาจต้องใช้การกระทุ้ง เพื่อให้วัสดุสามารถเติมเต็ม ช่องว่างได้ ไม่ควรใช้เครื่องจี้ เพราะจะทำให้วัสดุแยกชั้น
LANKO 706 CALSEA เมื่อบ่มตัวจะเกิดการหดตัวเล็กน้อย เพื่อป้องกันการแข็งตัวก่อนถึงเวลาที่เหมาะสม ต้องคอยรักษา พื้นผิวให้ชุ่มชื้น หากสัมผัสกับแสงแดดจัดและลมแรง แนะนำ ให้ทำการบ่มตามมาตรฐานที่เหมาะสม
ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ด้วยน้ำสะอาดทันที หลังการ ใช้งานส่วนมอร์ต้าที่แข็งติดกับเครื่องมือและอุปกรณ์ ต้องกำจัดออก ด้วยใช้เครื่องมือทางกลเท่านั้น