ฉนวนกันความร้อนเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบหลังคา สร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายภายในอาคารโดยปกป้องจากความร้อนและความเย็น ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานความร้อนและความเย็น ฉนวนกันความร้อนมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของฉนวนกันความร้อนทั่วโลก ซึ่งทำให้ความต้องการในการต้านทานความร้อนของโครงสร้างอาคารสูงขึ้น เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในการทำความร้อนหรือความเย็น

ฉนวนกันความร้อนที่ใช้ในระบบหลังคาเรียบ ไม่ควรมีเพียงคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อนที่ดีเท่านั้น แต่ยังควรมีคุณสมบัติเชิงกลที่เพียงพอ เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักได้ (เช่น หิมะ ทางสัญจรที่ใช้ในการบำรุงรักษา ความชื่นในการสร้างหลังคา ฯลฯ )

ประเภทฉนวนกันความร้อนที่ใช้ทั่วไปบนหลังคา

PIR insulation board
โพลียูรีเทนโฟม (PIR/PUR)

PIR (Polyisocyanurate) เป็นฉนวนกันความร้อนที่เป็นสารเคมีโพลียูริเทนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะของเนื้อโพลิเมอร์ไม่แน่น ผลิตจากโพลีอีเทอร์ และไดไอโซไซยาเนต สิ่งนี้เป็นแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นสากลและมีประสิทธิภาพสำหรับหลังคาที่เปิดโล่งทุกประเภท PIR เป็นฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมที่สุดชนิดหนึ่งสำหรับใช้ติดระบบหลังคา และยังสามารถใช้กับงานหลังคาบัลลาสต์ได้อีกด้วย

Mineral wool insulation board
ฉนวนใยหิน

ฉนวนใยหินหรือที่เรียกว่าเส้นใยหิน เป็นฉนวนกันความร้อนใยแร่ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากเส้นใยหินบะซอลท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาทั่วไปสำหรับหลังคาที่ยึดด้วยกลไกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องทนไฟสูงมาก

EPS insulation board
โพลีสไตรีนแบบขยายตัว (EPS)

โพลีสไตรรีนแบบขยายตัว เป็นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากเม็ดโพลีสไตรรีนกับสารขยายตัว เป็นหนึ่งในแนวทางแก้ปัญหาที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับระบบหลังคาแบบเปิดโล่งและหลังคาบัลลาสต์

XPS insulation board
โพลีสไตรีนแบบอัดรีด (XPS)

โพลีสไตรีนแบบอัดรีด เป็นแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ผลิตจากโพลีสไตรีนในกระบวนการอัดขึ้นรูป เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษจึงเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดีสำหรับระบบหลังคาบัลลาสต์ และหลังคาเอนกประสงค์ นอกจากนี้โพลีสไตรีนแบบอัดรีดยังสามารถใช้ในระบบหลังคาแบบเปิดได้อีกด้วย

ข้อดีของโพลียูรีเทนโฟม (PIR / PUR)
  • ทนไฟได้ดี (สูงกว่า 250 องศาเซลเซียส)
  • ค่าการนำความร้อนต่ำมาก 0.023-0.028 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน
  • ค่ากำลังรับแรงอัดสูงที่ระดับ 100-300 กิโลปาสคาล ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานบนหลังคาบัลลาสต์
  • น้ำหนักเบา ประมาณ 30-60 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ข้อดีของฉนวนใยหิน
  • ทนไฟได้ดีเยี่ยม (สูงกว่า 1000°C) ผลิตภัณฑฉนวนใยหินโดยส่วนมากจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มไม่ติดไฟ
  • ค่าการนำความร้อนต่ำ 0.038-0.041 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน
  • ค่ากำลังรับแรงอัดสูงที่ระดับ 40-80 กิโลปาสคาล ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานบนหลังคาแบบเปิด
  • น้ำหนัก ประมาณ 100-200 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

ข้อดีของโพลีสไตรีนแบบขยายตัว (EPS)
  • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นชนิดไม่ลามไฟ
  • ค่าการนำความร้อนต่ำ 0.037-0.041 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน
  • ค่ากำลังรับแรงอัดสูงที่ระดับ 100-250 กิโลปาสคาล ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานบนหลังคาบัลลาสต์
  • น้ำหนักเบา ประมาณ 20-40 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

ข้อดีของโพลีสไตรีนแบบอัดรีด (XPS)
  • ค่าการดูดซึมน้ำเกือบเป็นศูนย์
  • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นชนิดไม่ลามไฟ
  • ค่าการนำความร้อนต่ำ 0.034-0.038 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน
  • ค่ากำลังรับแรงอัดสูงที่ระดับ 250-700 กิโลปาสคาล ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานบนหลังคาเอนกประสงค์ที่มีการสัญจรมาก
  • น้ำหนักเบา ประมาณ 25-35 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

การเปรียบเทียบประเภทฉนวนกันความร้อนโดยทั่วไป

คุณสมบัติSikatherm PIR AL/GTฉนวนใยหินEPS
ประสิทธิภาพกันความร้อนดีเยี่ยม(1)  
ทนต่ออุณหภูมิสูง (≥ 200 ° C) (2) 
กำลังแรงอัดสูง (≥ 100 kPa) 
ความสามารถในการดูดซึมน้ําต่ํา ( และle; 10%) 
น้ําหนักเบา(3) 
โครงสร้างโฟมเป็นแบบเซลล์ปิด 
สามารถสัมผัสกับแผ่นพีวีซีกันซึมได้โดยตรง 
เหมาะสําหรับระบบหลังคาที่ยึดติดด้วยกาว 
เหมาะสําหรับระบบหลังคาบัลลาสต์ 
เหมาะสําหรับระบบหลังคาสีเขียว 
เหมาะสําหรับใช้กันซึมชนิดทาเคลือบ (LAM) (4)  
แผ่นฉนวนกันความร้อนแบบขอบตัด 
ความทนทานต่อบิทูเมนที่ร้อนขึ้น 
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 
วัสดุไม่เป็นเส้นใย (ไม่ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง และไม่ก่อให้เกิดโรคปอด) 

หมายเหตุ: (1) ค่าการนำความร้อนต่ำสุด: 0.028 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน (2) ค่าความต้านทานระยะสั้น (3) น้อยกว่า 60 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (4) สามารถใช้ กับ Sikatherm PIR GT เท่านั้น

โพลียูรีเทนโฟม (PIR) มีข้อดีกว่าฉนวนกันความร้อนประเภทอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • มีความหนาน้อย เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีแบบอื่น ๆ – แผ่นกันความร้อนบางลงแต่ประสิทธิภาพเท่าเดิม
  • ความหนาแน่นต่ำ – เหมาะกับงานโครงการปรับปรุง ไม่จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ สามารถเพิ่มการรับน้ำหนักได้เล็กน้อย
  • ทนความร้อนมากถึง 250 องศาเซลเซียส ไม่ละลาย ไม่ลามไฟ
  • PIR GT ใช้งานได้หลากหลาย (กาวยึดติด ยึดติดด้วยอุปกรณ์เชิงกล หรือหลังคาบัลลาสต์)
  • มีค่ารับกำลังแรงอัดดีกว่าฉนวนใยหิน
  • สามารถใช้งานได้ดีเยี่ยม (ไม่ระคายเคืองผิว ตัดง่าย บอร์ดมีน้ำหนักเบาทำให้เคลื่อนย้ายง่าย ฯลฯ )
  • แผ่นบอร์ดมีรุ่นเรียวเล็ก
  • สามารถเข้ากันได้กับแผ่นพีวีซีกันซึม กันซึมชนิดทาเคลือบ และวัสดุกันซึมหลังคาอื่นๆ ของซิก้า
  • ฉนวนกันความร้อนเป็นแบบชั้นเดียว
  • ราคามีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุประเภท EPS หรือ MW
  • สามารถวางแผ่นกันซึม Sikaplan / Sarnafil บนแผ่น PIR ได้โดยตรง การเป็นเนื้อเดียวกันของผิวหน้าบอร์ดจะป้องกันการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างพีวีซีและโฟม PIR

โครงการอ้างอิง