04/04/2025
ความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคาร และส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง โดยการจำแนกความเสียหายเหล่านี้มีความสำคัญต่อการประเมินความเสียหาย และการกำหนดแนวทางการซ่อมแซมที่เหมาะสม
การจำแนกความเสียหายที่เกิดขึ้นบนส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร
ความเสียหายโครงสร้างอาคารจากแผ่นดินไหว หากความเสียหายเกิดขึ้นกับส่วนที่เป็น ฐานราก เสา คาน หรือผนังรับน้ำหนัก
จะถือว่าอาคารได้รับผลกระทบมาก และต้องรีบดำเนินการตรวจสอบและซ่อมแซมโดยผู้เชี่ยวชาญ
ในทางกลับกัน หากความเสียหายเกิดขึ้นกับส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่น ฝ้าเพดาน ผนังกั้นห้อง หรือวัสดุตกแต่งผิวภายใน
แม้จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานหรือความสวยงาม ถือว่าความเสียหายอยู่ในระดับที่กระทบต่ออาคารน้อย
ดาวน์โหลดแนวทางซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตหลังแผ่นดินไหว
ชิ้นส่วนของอาคาร ที่ถือว่าเป็นส่วนของโครงสร้าง
- ฐานราก (Foundation) – รองรับน้ำหนักอาคารและถ่ายแรงลงสู่ดิน
- เสา (Column) – รับแรงกดจากคานและพื้นถ่ายลงฐานราก
- คาน (Beam) – รองรับและถ่ายแรงจากพื้นและผนังไปยังเสา
- พื้น (Slab/Floor) – รองรับน้ำหนักการใช้งานและอุปกรณ์ต่างๆ
- ผนังรับน้ำหนัก (Load Bearing Wall) – รับและถ่ายน้ำหนักจากโครงสร้างชั้นบนลงสู่ฐานราก
ชิ้นส่วนของอาคาร ที่ไม่ใช่ส่วนของโครงสร้าง
- ผนังแบ่งพื้นที่ (Partition Wall) – ผนังที่ใช้กั้นห้อง แต่ไม่ได้รับน้ำหนักของอาคาร
- ฝ้าเพดาน (Ceiling) – ใช้เพื่อความสวยงามและปิดงานระบบ ไม่รับแรงจากโครงสร้าง
- วงกบประตู-หน้าต่าง (Door & Window Frames) – ช่วยยึดประตูและหน้าต่าง แต่ไม่มีผลต่อความแข็งแรงของอาคาร
- ประตูและหน้าต่าง (Doors & Windows) – มีหน้าที่เปิด-ปิดพื้นที่ แต่ไม่ได้ช่วยรองรับน้ำหนักอาคาร
- วัสดุปูพื้น (Floor Finishings) – เช่น กระเบื้อง ไม้ปูพื้น พรม มีผลต่อความสวยงามมากกว่าความแข็งแรง
- หลังคาครอบ (Roof Tiles or Metal Sheets) – วัสดุมุงหลังคาที่ช่วยกันแดดกันฝน แต่ไม่ได้เป็นส่วนโครงสร้างหลัก
ขั้นตอนการซ่อมแซม
ตรวจสอบความเสียหาย
รวบรวมข้อมูลความเสียหาย ตรวจสอบรอยร้าวอาคาร ระบุรายละเอียดของรอยแตกร้าวขนาดความกว้าง ความลึก ความยาว จำนวนและตำแหน่งที่เกิดความเสียหาย รวมถึงการจำแนกระหว่างส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง
วิเคราะห์สาเหตุ
พิจารณาหาสาเหตุ ความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ทำให้โครงสร้างคอนกรีตได้รับความเสียหาย เช่น เกิดจากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แรงดึง แรงดัด แรงกดอัดหรือ แรงเฉือน
เลือก / กำหนด วัสดุซ่อม
ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย
ลงมือซ่อม
เป็นไปตามรูปแบบ วิธีซ่อมแซมอาคารหลังแผ่นดินไหว หรือข้อกำหนดที่ได้ออกแบบและวางแผนไว้
ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำ
นอกจากการซ่อมแซมโครงสร้างหลังแผ่นดินไหว ควรต้องพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย และออกแบบป้องกันหรือลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้อีก
ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีต*
*ข้อมูลจาก: สมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย, กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
แนวทางการซ่อมแซม แบ่งตามระดับความเสียหาย
ขนาดของรอยร้าว: ไม่พบรอยแตกร้าว
(อาจมีความเสียหายบนส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่นผนังแตกร้าว)
แนวทาง: ไม่มีการซ่อมชิ้นส่วนโครงสร้าง
ระดับ 2
แตกร้าว แต่คอนกรีตไม่กะเทาะ
ขนาดของรอยร้าว: 0.3 มม. ถึง 2.0 มม.
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการฉีดอัดอีพ็อกซี่เรซิ่น ที่มีค่าการรับกำลังทางกลสูง
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur -52 TH และ
Sikadur -31 CF Normal
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการฉาบซ่อมด้วยอีพ็อกซี่มอร์ตาร์ ที่มีค่าการรับกำลังทางกลสูง
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur-31 CF Normal
ระดับ 3
แตกร้าว จนคอนกรีตกะเทาะ แต่ยังไม่เห็นเหล็กเสริม (หรืออาจเห็นผิวเหล็กเสริมเพียงเล็กน้อย-บางส่วน)
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการฉาบซ่อม
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur -31 CF Normal
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการฉาบซ่อม
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur -32 TH และ
SikaMonoTop-412 TH หรือ
Lanko 731
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการเข้าแบบ และเทวัสดุนอนชริงค์เกราท์
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur-32 TH และ
SikaGrout -214-11 TH
ระดับ 4
คอนกรีตกะเทาะหลุด จนเห็นเหล็กเสริมด้านใน แต่เหล็กเสริมไม่มีการขาด บิด งอ เสียรูป (ต้องได้รับการตรวจสอบโดยวิศวกรโครงสร้าง)
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการฉาบซ่อม
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur -31 CF Normal
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการฉาบซ่อม
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur -32 TH และ
SikaMonoTop-412 TH หรือ
Lanko 731
แนวทาง:
ซ่อมด้วยวิธีการเข้าแบบ และเทวัสดุนอนชริงค์เกราท์
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
Sikadur-32 TH และ
SikaGrout -214-11 TH
ระดับ 4
กรณีที่คอนกรีตกะเทาะหลุด เห็นเหล็กเสริมด้านใน ขาด บิด งอ หรือเสียรูป
- ต้องมีวิศวกรโครงสร้างมาตรวจสอบ และออกแบบวิธีการซ่อมแซมตามมาตรฐาน เพื่อให้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ได้รับความเสียหาย สามารถกลับมา รับกำลังทางกลต่างๆ ได้เหมือนเดิม
- ซึ่งโดยทั่วไป อาจมีแนวทางการซ่อมคล้ายคลึงกับการแก้ไขซ่อมแซมในระดับ 3 แต่อาจพิจารณาการเสริมกำลังโครงสร้างเพิ่มขึ้นมาด้วย
- การเสริมกำลังโครงสร้าง ทำได้หลายวิธี โดยการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยวัสดุ CFRP (Carbon Fiber Reinforced Polymer) ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ และถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ จะต้องได้รับการออกแบบและคำนวณโดยวิศวกรโครงสร้าง ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ >>งานเสริมกำลังโครงสร้าง
ข้อควรรู้
- รอยร้าวขนาดเล็ก ถึงแม้จะไม่รุนแรงแต่ควรทำการซ่อมแซมเช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าไปทำให้เหล็กเสริมเกิดสนิม สร้างความเสียหายให้คอนกรีต
- วัสดุประสานคอนกรีต ควรเป็นอีพ็อกซี่ 2 ส่วนผสมที่ได้มาตรฐาน ASTM C 881-78 Type II, Grade 2 Class B+C เท่านั้น
- วัสดุที่ใช้ในการฉาบหรือเทซ่อม ต้องทำในขณะที่วัสดุประสานยังคงเปียกอยู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมต้องมีค่ารับกำลังทางกลต่างๆไม่น้อยกว่าค่าเดิมของอาคาร