09/04/2025
ความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคาร และส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง โดยการจำแนกความเสียหายเหล่านี้มีความสำคัญต่อการประเมินความเสียหาย และการกำหนดแนวทางการซ่อมแซมที่เหมาะสม
การจำแนกความเสียหายที่เกิดขึ้น บนส่วนที่เป็นโครงสร้าง และส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร
ความเสียหายที่เกิดกับโครงสร้างอาคาร
หากความเสียหายเกิดขึ้นกับฐานราก เสา คาน หรือผนังรับน้ำหนัก จะถือว่าอาคารได้รับผลกระทบมาก และต้องรีบดำเนินการตรวจสอบและซ่อมแซมโดยผู้เชี่ยวชาญ
🔗 อ่านเพิ่มเติม:
แนวทางการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตที่เสียหายหลังแผ่นดินไหวจากซิก้า
ความเสียหายที่ไม่ใช่โครงสร้าง
หากความเสียหายเกิดขึ้นกับส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง เช่น ฝ้าเพดาน ผนังกั้นห้อง หรือวัสดุตกแต่งผิวภายใน แม้จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานหรือความสวยงามถือว่าความเสียหายอยู่ในระดับที่กระทบต่ออาคารน้อย
ดาวน์โหลด แนวทางการซ่อมแซมความเสียหายของอาคารเฉพาะส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง
ความสำคัญของการซ่อมแซมส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง หลังแผ่นดินไหว
ในทางวิศวกรรม แม้อาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวจะไม่เกิดความเสียหายทางโครงสร้างโดยตรง แต่รอยร้าว ผนังหลุดล่อน หรือฝ้าเพดานหลุดร่วงในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง ยังคงส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้อาคาร
จากการสำรวจอาคารที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ พบว่า ความเสียหายเกิดขึ้นกับส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง มากกว่าส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคาร
ตัวอย่างความเสียหายที่ไม่ใช่โครงสร้าง
ข้อควรรู้ก่อนซ่อมแซมรอยแตกร้าวบนผนัง
ก่อนการซ่อมแซม ต้องทราบชนิดของผนังที่ใช้แบ่งห้องหรือแบ่งพื้นที่ภายในอาคารว่าเป็นประเภทใด เช่น
- ผนังก่ออิฐมอญ
- อิฐมวลเบา
- อิฐบล็อกฉาบปูน
- ผนังคอนกรีต
- ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์
- ผนังเบาประเภทอื่น ๆ
ผนังแต่ละชนิดจะมีวิธีการซ่อมแซมที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการซ่อมแซมผนังก่อฉาบอิฐมอญหรืออิฐมวลเบา เนื่องจากเป็นปัญหาที่พบบ่อยในอาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรม หรืออาคารสำนักงาน
แนวทางการซ่อมแซม แบ่งตามระดับความเสียหายของผนังก่ออิฐฉาบปูน
ขนาดรอยร้าว: กว้าง < 1.0 มม., ลึก < 5.0 มม.
แนวทาง: ฉาบโป้วรอยร้าว
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
A ฉาบโป้วรอยร้าว
- Lanko 107 Wall Putty หมันโป๊ว อะคริลิก สำหรับโป๊วอุดรอยแตกร้าว รอยต่อ
B กาวยาแนวรอยต่อ การแตกร้าว
- Sikaflex®-740 Construction กาวยาแนวรอยต่อ มีความยืดหยุ่นตัว เหมาะสำหรับรอยต่อที่มีการเคลื่อนตัวสูง
- Sikaflex®-730 SMP กาวยาแนวรอยต่อ มีความยืดหยุ่นตัว เหมาะสำหรับรอยต่อที่มีการเคลื่อนตัวปานกลาง
ขนาดรอยร้าว: กว้าง > 1.0 มม., ลึก > 5.0 มม.
แนวทาง: ใช้วัสดุกึ่งแข็ง (Semi-Rigid) ฉาบซ่อม
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
A รอยร้าวที่มีการขยับตัว
- Sikadur®-61 Epoxy PU Joint กรีดสกัดคอนกรีตออกตามแนวรอยที่เกิดขึ้นและใช้งานด้วยอีพ๊อกซี่ ผสมโพลียูรีเทน
- Lanko 104 Skim Coat Flex ฉาบทับรอยซ่อม *ในกรณีที่ผนังเดิมมีการฉาบสกิมโค้ท
B รอยร้าวที่หยุดนิ่งแล้ว
- Sika MonoTop®-412 TH ใช้สำหรับงานซ่อมแซมทั่วไป และงานโครงสร้างคอนคอนกรีต มีส่วนผสมของโพลีเมอร์ดัดแปลง
ซิลิก้าฟูม และเส้นใยไฟเบอร์
ขนาดรอยร้าว: ร้าวทะลุ / อิฐมอญหรืออิฐมวลเบาแตกหักตามแนวรอยร้าวแนวทาง: ซ่อมด้วยวิธีการเย็บเชื่อมผนัง อุดรอยร้าว และฉาบซ่อม
*กรณีรอยร้าวมากกว่า 50% ของพื้นที่ผนัง อาจพิจารณา รื้อผนังเดิมแล้วก่อใหม่
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
1 กรีดสกัดตามรอยพื้นผิวที่แตกร้าว เสียหาย
2 การเสียบเหล็กเสริม
- Sika AnchorFix®-1: ใช้ติดยึดเหล็กแผ่นหรือเหล็กเส้นแบบเร่งด่วน เพื่อยึดรั้งผนังทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน
- Sikadur®-31 CF Normal: ใช้เชื่อมเหล็กแผ่นหรือเหล็กเส้น เพื่อยึดรั้งผนังสองด้านเข้าด้วยกัน
3 ประสานคอนกรีตเก่า - ใหม่
- Sikadur®-32 TH: ใช้เป็นวัสดุประสานระหว่างพื้นผิวเก่ากับวัสดุซ่อมใหม่ที่มีแรงยึดเกาะสูง
4 ฉาบแต่งปิดทับรอยซ่อม
- Sika MonoTop®-412 TH: ซีเมนต์ฉาบซ่อมโครงสร้าง รับกำลังอัดสูง ลดการแตกร้าว
- LANKO® 103 Skimcoat Plus: ใช้ฉาบทับบริเวณที่ซ่อมแซม กรณีที่ผนังเดิมมีการฉาบสกิมโค้ทไว้
วัสดุที่ใช้ซ่อม:
1 ปูกระเบื้อง
- SikaTile®-720 Easy Fix: กาวปูกระเบื้องสำเร็จรูปพร้อมใช้ ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับงานติดตั้งหรือซ่อมแซมกระเบื้องที่หลุดล่อนในพื้นที่ขนาดเล็ก
- SikaTile®-350 Performance: กาวซีเมนต์คุณภาพ แรงยึดเกาะสูง สำหรับติดกระเบื้องขนาดใหญ่ได้ถึง 80x80 ซม.
2 ยาแนวร่องกระเบื้อง
- SikaTile®-630 TG Wide Gap: ยาแนวชนิดกันเชื้อรา สำหรับร่องกระเบื้อง ขนาดร่องกว้าง 1-6 มม.
3 ผลิตภัณฑ์เสริมงานปูกระเบื้อง
- Sikasil®-129 Kitchen & Bathroom: ซิลิโคนป้องกันเชื้อรา สำหรับยาแนวบริเวณขอบกระจก อ่างอาบน้ำ และสุขภัณฑ์
บทสรุป
การซ่อมแซมความเสียหายในส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง บางครั้งสามารถดำเนินการแก้ไขได้ด้วยตนเอง แต่ในบางกรณีอาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
อย่างไรก็ตาม หากมีความเข้าใจในหลักการซ่อมแซมพื้นฐาน ก็สามารถร่วมวางแผนและหารือแนวทางกับผู้รับเหมาได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ผลงานซ่อมแซมมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น